วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

ประกันเดินทาง


อยากชวนเธอออกไป
มองฟ้าและน้ำที่กว้างใหญ่
ให้ได้กลิ่นดินที่ลมนั้นพัดเข้ามาจากสุดไกลตา
"โลกอันกว้างใหญ่เรามันแค่ใคร...?"
ทำลายข้อจำกัดที่สร้างขึ้นซะ การออกเดินทางก็เช่นกันแค่
เก็บกระเป๋าแล้วออกเดินทาง "ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ร อ อ ยู่ "

รายละเอียดผลิตภัณฑ์ แผนประกันภัยการเดินทาง Travel Easy คุ้มครองคุณและครอบครัว 24 ชั่วโมงทั่วโลก จากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อุ่นใจและปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่เดินทางในต่างประเทศ

คุณสมบัติหลัก 

ให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก ทั้งการบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายฉุกเฉิน

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 5,000,000 บาท
  • เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 190 บาท พร้อมทุนประกันสูงถึง 1,500,000 ล้านบาท
  • เดินทางไปกลุ่มเชงเก้น เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 255 บาท
  • คืนเงิน 100% หากยื่นวีซ่าไม่ผ่าน
ไฮไลท์แผนความคุ้มครอง

คุ้มครองการรักษาพยาบาลทั้งอุบัติเหตุและเจ็บป่วย สูงสุด 5,000,000 บาท
  • คุ้มครองการรักษาพยาบาลทั้งอุบัติเหตุและเจ็บป่วย สูงสุด 5,000,000 บาท
  • คุ้มครองการเคลื่อนย้ายเพื่อรักษาพยาบาลฉุกเฉินหรือเคลื่อนย้ายกลับประเทศไทย สูงสุด 2,000,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จะคุ้มครองการส่งศพกลับประเทศ สูงสุด 2,000,000 บาท
  • สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการยกเลิกหรือเลื่อนการเดินทาง สูงสุด 500,000 บาท
  • เที่ยวบินล่าช้า ให้ความคุ้มครองสูงสุด 35,000 บาท
  • คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของกระเป๋าเดินทางและ/หรือทรัพย์สินส่วนตัว และ/หรืออุปกรณ์กอล์ฟ สูงสุด 60,000 บาท
  • กระเป๋าล่าช้า ให้ความคุ้มครองสูงสุด 35,000 บาท

    ประกันcovid19


              "สู้ความเครียดจากโควิด ด้วย ทริค พิชิตออฟฟิศซินโดรม"

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน ทำให้เกิดความตึงเครียด, วิตกกังวล ต่อคนหลาย ๆ คนไม่ว่าจะโดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม โดยมีโรคที่อาจตามมากับความเครียดได้ก็คือ โรคปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือออฟฟิศซินโดรม เพราะอะไร และ จะป้องกันได้อย่างไร เดี๋ยวหมอเล่าให้ฟังครับ

                      ความเครียดหรือ วิตกกังวล ทำให้เกิดการปวดคอ, บ่า, ไหล่, หลัง ได้อย่างไร?
           โดยปกติกล้ามเนื้อคอ, บ่า ต้องรับน้ำหนักศรีษะ ซึ่งหนักราว ๆ 7 กิโลกรัม เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน กล้ามเนื้อหลังก็ต้องรับน้ำหนักตัว และศรีษะเช่นกัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นเกิดความตึงตัวอย่างต่อเนื่อง  แต่ความเครียดหรือความวิตกกังวลจะมีผลทางอ้อม กับกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่อยู่รอบ ๆ กระดูกสันหลัง, คอ, บ่า, ไหล่  โดยทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวอยู่ แสดงอาการปวดออกมาได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด, ตึง, ล้า ไปจนถึงอ่อนแรง ซึ่งหากมีทั้งกล้ามเนื้ออักเสบและความเครียดทั้งสองสิ่งประกอบกัน จะส่งผลให้อาการปวดเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนบางครั้งไม่สามารถทำงานได้ หรือทำงานได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม นอกจากนี้ หากความตึงตัวและความเครียดเหล่านี้คงอยู่นาน จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง บางครั้งปวดลามไปที่ท้ายทอย, ศรีษะ หรือบริเวณรอบ ๆ เบ้าตา คล้ายกับ “อาการปวดไมเกรน” ได้ การปล่อยให้ปวดเรื้อรังนอกจากจะส่งผลให้ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ในผู้ป่วยบางรายอีกด้วย


    5 วิธีง่าย ๆ ลดปวด ลดตึง อย่างได้ผล
    1. ยืดกล้ามเนื้อคอ จะช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอ และยังช่วยลดอาการปวดคอรวมไปถึงอาการปวดร้าวไปที่ท้ายทอยและขมับได้ การยืดกล้ามเนื้อคอ สามารถทำได้ง่าย ๆ ในที่ทำงาน สามารถทำได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาไม่ถึงสองนาที วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่หมอแนะนำที่สุดครับ

    2. การนวดเบา ๆ ที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ สามารถช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ, ผ่อนคลาย, ลดอาการปวดร้าวไปยังศรีษะ, ท้ายทอย และบริเวณบ่าไหล่ได้ นอกจากนี้การใช้ความร้อนที่เหมาะสมเข้าช่วยร่วมกับการนวด จะทำให้กล้ามเนื้อลดการตึงตัวได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    3. ปรับอุปกรณ์และท่านั่งทำงานให้เหมาะสม เพราะท่านั่งทำงานคือปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรม การนั่งทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์ผิดท่าเป็นเวลานาน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อ คอ, บ่า, ไหล่, หลัง ทำงานอย่างหนัก จนเกิดการอักเสบขึ้นได้ เคล็ดลับง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือ การปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับโต๊ะทำงานและนั่งให้เท้าทั้งสองข้างสัมผัสพื้นอยู่เสมอ จะช่วยลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ถ้าเท้าไม่สามารถแตะพื้นได้ อาจต้องใช้ที่พักเท้าช่วยครับ

    4. พักและยืด หมอแนะนำให้ผู้อ่านพักจากท่าการทำงานทุก ๆ 1 ชั่วโมง โดยพักประมาณ 3-5 นาที ระหว่างพัก ให้ทำงานยืดกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อหลัง ดื่มน้ำเปล่า หันมองไกล ๆ พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ จะช่วยทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี

    5. อย่างปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะจะทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น การดื่มน้ำจะช่วยให้เกิดสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย สงผลให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างที่มีผลต่อการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ดื่มกาแฟก่อนนอน ซึ่งจะเพิ่มการตึงตัวของกล้างเนื้อและทำให้กล้ามเนื้ออักเสบหายได้ยากมากขึ้น

               ลองปฏิบัติตามคำแนะนำ 5 ข้อ ง่าย ๆ นี้ดูนะครับ หมอเชื่อว่าอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม จะลดลงไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน พยายามสังเกตตนเองอย่าปล่อยให้อาการเป็นมาก หรือเป็นยาวนานกว่า 2 สัปดาห์ เพราะจะรักษาได้ยาก และบางครั้งเป็นเรื้อรังได้ ถ้าอาการแย่ลง หรือ ไม่ดีขึ้น แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกต้องต่อไปครับ วันนี้หมอลาไปก่อน อย่าลืมดื่มน้ำและพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยลดความเครียดของร่างกายได้นะครับ

    ประกันลดหย่อนภาษี

    ประกันบำนาญ


    ความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะเจอหลังเกษียณ?
    ถ้าพูดถึงบำนาญคนส่วนใหญ่จะนึกถึงการลดหย่อนภาษีคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของบำนาญคนส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นการซื้อประกันและไปมองเรื่องผลตอบแทนเป็นหลักคนส่วนใหญ่ไม่ชอบสินค้าการเงินที่ต้องออมระยะยาวเช่นRMFและบำนาญแม้แต่คนขายประกันก็ยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์วิธีการขายที่ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นประกันชีวิตชนิดหนึ่ง

    2  ความเสี่ยงหลังเกษียณที่จะต้องเจอ ที่เกี่ยวกับบำนาญ คือ

    Longevity risk ความเสี่ยงที่อายุจะยืนยาวเกินกว่าที่คาดไว้

    สินค้าการเงินรูปแบบบำนาญ จะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการที่มีชีวิตอยู่ยาวนานเกินไปกว่าเงินที่ท่านเตรียมไว้ใช้ในยามเกษียณ เรียกง่ายๆใช้เงินหมดก่อนตายนั่นเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่น่ากลัวที่สุด

    Market risk ความเสี่ยงในการพึ่งพาผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนเพียงอย่างเดียว

    บำนาญนั้นเป็นประโยชน์ต่อคนที่อยู่ในวัยเกษียณ เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลังเกษียณที่แน่นนอน (guaranteed income) ในกรณีที่บางปีผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนผิดพลาดไป แต่ยังคงมีกระแสเงินสดเข้ามาสู่พอร์ตการลงทุนได้

    ดังนั้น บำนาญ จึงเป็นการที่เน้นเรื่องการป้องการความเสี่ยงเป็นหลัก

    มากกว่าเน้นเรื่องของผลตอบแทนสูงสุดหรือการสร้างความมั่งคั่งให้กับพอร์ตการลงทุน ซึ่งเราควรจะมองมันเป็นเสมือนเครื่องมือในการจัดการเรื่องความเสี่ยง แล้วค่อยไปมองเรื่องของผลตอบแทนในการซื้อบำนาญนั้นเป็นประเด็นรอง
    และนี่คือเหตุผลหลักว่าทำไมจะต้องมีบำนาญในแผนเกษียณ
    อย่าหวังพึ่งรายได้หลังเกษียณจากผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญ ใช้เงินหมดก่อนตายคือ ความเสี่ยงที่แท้จริง

    ประกันโรคร้ายแรง

    หมดห่วงกับค่ารักษาพยาบาล หากต้องรักษาตัวจากโรคร้ายแรง

    อุ่นใจกับประกันคุ้มครอง 50 โรคร้ายแรงที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรง
    เช่น โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลามและระยะลุกลาม โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน โรคอัลไซเมอร์ และไตวายเรื้อรัง เป็นต้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยและยืนยันจากแพทย์ในระหว่างที่ผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ บริษัทฯ จะมอบเงินก้อนไว้ใช้รักษาตัวเมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากโรคร้ายแรง ให้คุณหมดห่วงกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น และช่วยลดภาระให้กับคุณรวมถึงคนที่คุณรัก
    ความคุ้มครองสำหรับสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง 50 โรคให้คุ้มครองกรณีที่บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยตามที่ระบุไว้ในสัญญาเพิ่มเติม โดยบริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยภายใต้ข้อกำหนดของแบบประกันภัย โดยมีรายละเอียดดังนี้1. โรคร้ายแรง 5 โรคบริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ 25% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย สำหรับ 5 โรคร้ายแรงที่ระบุด้านล่างนี้ โดยจ่ายเพียงครั้งเดียวตลอดระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบอยู่ เมื่อจ่ายผลประโยชน์ดังกล่าวแล้ว จำนวนเงินเอาประกันภัยคงเหลือของสัญญาเพิ่มเติมนี้ในรอบปีกรมธรรม์ต่อๆ ไปจะปรับลดลงเหลือ 75%ของจำนวนเงินเอาประกันภัยเริ่มต้น
    1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ
    2. โรคหลอดเลือดสมองที่ต้องได้รับการผ่าตัดลอกหลอดเลือดแดงคาโรติด
    3. โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม
    4. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่รักษาโดยใช้ขดลวดผ่านสายสวนทางหลอดเลือด
    5. โรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาโดยวิธีใส่สายสวนเส้นเลือดแดงบริเวณคอ
    6.  โรคร้ายแรง 45 โรคบริษัทจะจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 45 โรคที่ระบุในด้านล่างนี้ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยยังไม่เคยได้รับผลประโยชน์โรคร้ายแรงตามข้อ 1. เป็นจำนวน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และหากผู้เอาประกันภัยได้รับผลประโยชน์โรคร้ายแรงตามข้อ 1. แล้ว บริษัทฯ จะจ่ายผลประโยชน์ที่เหลือจำนวน 75% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยเริ่มต้น ทั้งนี้ ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง 50 โรคจะสิ้นสุดลง หากบริษัทได้จ่ายผลประโยชน์เป็นจำนวน 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
    1. โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
    2. โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต (Aplastic Anemia)
    3. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)
    4. เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง (Benign Brain Tumor)
    5. ตาบอด (Blindness)
    6. โรคมะเร็งระยะลุกลาม (Invasive Cancer)
    7. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
    8. ตับวาย (Chronic Liver Disease / End-stage Liver Disease / Liver Failure)
    9. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง /โรคปอดระยะสุดท้าย (Severe Chronic Obstructive Pulmonary Disease / End-stage Lung Disease)
    10. ภาวะโคม่า (Coma)
    11. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery)
    12. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
    13. การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ (Open Heart Surgery for the Heart Valve)
    14. ไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
    15. การสูญเสียการได้ยิน (Loss of Hearing)
    16. การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ (Loss of Independent Living)
    17. การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (Total and Permanent Disability - TPD) โดยจะต้องเกิดขึ้นก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 70 ปี
    18. การสูญเสียความสามารถในการพูด (Loss of Speech)
    19. แผลไหม้ฉกรรจ์ (Major Burn)
    20. การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง (Major Head Trauma)
    21. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก (Major Organs Transplantation or Bone Marrow Transplantation)
    22. โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor Neuron Disease)
    23. โรคระบบประสาทมัลติเพิล สะเคลอโรสิส (Multiple Sclerosis)
    24. โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
    25. โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง (Fulminant Viral Hepatitis)
    26. โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Other Serious Coronary Artery Diseases)
    27. อัมพาตของกล้ามเนื้อแขนหรือขา (Paralysis)
    28. โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
    29. โรคแรงดันในหลอดเลือดแดงปอดสูงแบบปฐมภูมิ (Primary Pulmonary Arterial Hypertension)
    30. ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง (Severe Rheumatoid Arthritis)
    31. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
    32. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ เอออร์ต้า (Surgery to Aorta)
    33. ไตอักเสบลูปูส จากโรคซิสเต็มมิค ลูปูส อิริเธมาโตซูส (Lupus Nephritis from Systemic Lupus Erythematosus)
    34. สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Encephalitis)
    35. ภาวะอะแพลลิก (Apallic Syndrome หรือ Vegetative State)
    36. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด (Cerebral Aneurysm Requiring Brain Surgery)
    37. การฉีกขาดของรากประสาทต้นแขน (Multiple Root Avulsions of Brachial Plexus)
    38. โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)
    39. การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ (Surgery for Idiopathic Scoliosis)
    40. ภาวะตับอ่อนอักเสบที่กลับเป็นซ้ำและเรื้อรัง (Chronic Relapsing Pancreatitis)
    41. โรคเท้าช้าง (Elephantiasis)
    42. โรคถุงน้ำในไต (Medullary Cystic Disease)
    43. โรคเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบติดเชื้อและเป็นเนื้อตาย (Necrotizing Fasciitis and Gangrene)
    44. โรคหนังแข็งชนิดลุกลาม (Progressive Scleroderma or Diffuse Systemic Sclerosis/Scleroderma)
    45. โรคลำไส้อักเสบเป็นแผลรุนแรง (Severe Ulcerative Colitis or Crohn’s Disease)

    ประกันสุขภาพ




    ความรู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพ

    ข้อดี ของประกันสุขภาพแบบไม่ต้องพ่วงคือ 
    • เหมาะกับการซื้อเพื่อดูแลสุขภาพระยะสั้น- กลาง เนื่องจากไม่ต้องพ่วงกับสัญญาหลักที่ต้องส่งเบี้ยระยะยาว
    • เหมาะกับการซื้อเสริมประกันสุขภาพที่มีอยู่แล้วแต่วงเงินไม่เพียงพอกับค่ารักษาที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน
    ข้อดี ของประกันสุขภาพแบบพ่วงประกันชีวิต
    • เหมาะกับการวางแผนระยะยาว มีความมั่นคงทางการเงินที่จะส่งเบี้ยสัญญาหลักระยะยาวได้ และซื้อประกันสุขภาพแบบพ่วงเสริม

    ทำความเข้าใจประกันสุขภาพที่มักจะเข้าใจกันมาผิดๆ 
    1. สัญญาประกันสุขภาพเป็นสัญญาปีต่อปี ไม่ใช่สัญญาระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นแบบพ่วงหรือไม่พ่วงก็เป็นสัญญาปีต่อปีใชัหลักเดียวกัน
    2. หากได้ยินตัวแทน บอกว่าสัญญาประกันสุขภาพเป็นสัญญาระยะยาว โปรดระวังว่าตัวแทนให้ข้อมูลผิดและไม่เข้าใจสาระสำคัญ อย่าซื้อกับตัวแทนประเภทนี้
    3. ประกันสุขภาพ ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำสัญญาและยังรักษาไม่หาย เปรียบง่ายๆ เหมือนประกันรถชั้น 1 หากมีรอยก่อนมาก่อนวันทำประกันและยังไม่ซ่อม รอยนั้นก็จะมาเคลมเอาจากประกันไม่ได้ ต้องรีมาร์คไว้  รวมถึงไม่รีมาร์คไว้แต่ประกันมาทราบภายหลังหรือมีหลักฐานว่าเกิดมาก่อนเอาประกัน รอยนั้นก็ซ่อมกับประกันไม่ได้ = โรคนั้นก็เคลมไม่ได้
    4. เบี้ยประกันสุขภาพต่ออายุเท่ากันทุกปีเท่ากับเบี้ยแรกเข้า  อันนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะมีปัจจัยที่เบี้ยประกันสุขภาพควรจะปรับขึ้นทุกปี ในความคุ้มครองที่เท่าเดิม ปัจจัยหลักคือ อายุเพิ่มความเสี่ยงภัยเพิ่ม และเวลาผ่านไป ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลปรับทุกปี  ประกันที่เบี้ยเท่าเดิมนั้นมีแต่ การส่งเบี้ยประกันชีวิต เพราะอัตราการตายไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก หรืออาจพบในประกันโรคมะเร็ง หรือประกันอุบัติเหตุ
    ทำประกันสุขภาพ มีบัตร care card ก็แล้ว เข้ารักษา รพ.ในเครือก็แล้ว แต่ยังต้องสำรองจ่าย ???

    • พบบ่อยว่าประกันบางแห่ง มักพบใน ประกันสุขภาพที่พ่วงกับประกันชีวิต ในบริษัทประกันชีวิตใหญ่ๆ มักจะตรวจเคลมละเอียด ว่าระหว่างอาการเจ็บป่วย กับเหตุผลที่ต้องเข้ารักษา สอดคล้องเหมาะสมหรือไม่ การตรวจละเอียดนี้พบในประกันเจ้าใหญ่ๆ ที่มีบุคลากรทำเคลมเอง จึงตรวจเยอะใช้เวลาเยอะ ระหว่างรอตรวจ ก็มักให้สำรองจ่ายไปก่อน แล้วถ้าตรวจแล้วไม่มีอะไรผิดปกติ ก็คืนในส่วนที่สำรองจ่ายไป